แนะฝึกหายใจ เลี่ยง“โรคหอบจากอารมณ์”


“โรคหอบจากอารมณ์” อาการที่ไม่ควรละเลย แนะฝึกการหายใจช้าๆ เลี่ยงความเครียด ลดความเสี่ยง
โรคหอบจากอารมณ์ คือ การที่ผู้ป่วยมีอาการหายใจหอบเร็วและลึกอยู่นาน จนทำให้เกิดความผิดปกติของค่าสารเคมีในเลือด ทำให้มีอาการผิดปกติทางร่างกายตามมา
ลักษณะอาการและสาเหตุ
ลักษณและอาการ คือ ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจหอบและเร็ว บ่นว่าหายใจลำบาก หน้ามืด เวียนศีรษะ ใจสั่น อาจมีอาการชาบริเวณรอบปากและนิ้วมือได้ ถ้าเป็นมากอาจพบอาการเกร็งและมือจีบได้ อาการมักมีความสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล โดยก่อนเกิดอาการผู้ป่วยมักมีปัญหากดดันจิตใจอย่างเห็นได้ชัด เช่น ทะเลาะกับคนใกล้ชิดหรือคนที่ทำงาน หรือมีปัญหาการเรียน เป็นต้น อาการดังกล่าวอาจคล้ายคลึงกับการหอบที่มีสาเหตุจากทางกาย เช่น โรคหอบหืด ภาวะหัวใจขาดเลือด ภาวะกรดคั่งในเลือดจากเบาหวาน ดังนั้น ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

ที่มา: เว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ โดยแพทย์หญิงธนิตา หิรัญเทพ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
ภาพประกอบจากอินเทอรืเน็ต

เกร็ดสุขภาพ >> 4 ขั้นตอน เรียกสติ เรียกความสุข


เราจะรับมืออย่างไรกับอารมณ์ที่กำลังคุกรุ่น เรื่องนี้ถ้าตอบในทางพระพุทธศาสนาสามารถยก “อริยสัจ 4” มาตอบได้ นั่นคือ ทุกข์ สภาพที่ทนได้ยาก สมุทัย
สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ นิโรธ การดับทุกข์ และมรรค แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ หากนำมาใช้ในชีวิตจริงก็จะเข้าใจความทุกข์และรับมือกับมันได้ด้วยตัวเอง

ทางฝั่งนักจิตวิทยาชาวออสเตรเลีย โซฟี เฮนโชล (Dr. Sophie Henshaw) ได้เขียนคู่มือเกี่ยวกับการฝึกจิตและอารมณ์ชื่อว่า The Silence Of Mindfulness หนึ่งในนั้นคือวิธีเรียกสติด้วยตัวเอง 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ปลดปล่อยอารมณ์ (Grump Stage) เริ่มต้นกระบวนการด้วยการปลดปล่อยอารมณ์ ณ ตอนนั้นออกมาให้เต็มที่ ไม่ต้องอดกลั้น ไม่ต้องปิดบัง แค่รู้สึกตามที่ใจรู้สึกเท่านั้น
ขั้นที่ 2 รู้สึกอย่างไร (How Stage) ถามตัวเองว่าความรู้สึกที่เป็นอยู่ตอนนี้เป็นอย่างไร ฟังตัวเองให้มากที่สุดโดยที่ไม่ต้องกลัวว่าคุณจะเศร้าหรือโกรธมากกว่าเดิม ใช้เวลากับขั้นตอนนี้ไปเรื่อยๆ ไม่ต้องรีบเร่ง และเมื่อถึงจุดหนึ่งอารมณ์ที่กำลังปะทุอยู่นั้นจะค่อยๆ เย็นลง ขั้นตอนนี้อาจใช้เวลานานเป็นวันแล้วแต่ว่าคุณจะเปิดใจยอมรับความรู้สึกตัวเองได้เมื่อไหร่
ขั้นที่ 3 อยู่กับปัจจุบัน (Now Stage) พาตัวเองให้อยู่กับปัจจุบัน ออกจากความคิดของตัวเองแล้วมาพิจารณาสภาพแวดล้อมรอบตัว ฟังเสียงที่ดังรอบข้าง หายใจรับรู้กลิ่น มองสภาวะปัจจุบันที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งขั้นตอนนี้ต้องทำหลังจากขั้นที่ 2 ลุล่วงแล้วเท่านั้น เพราะหากยังไม่เข้าใจว่าตัวเองรู้สึกอย่างไรก็ไม่สามารถมาสู่ขั้นปัจจุบันได้
ขั้นที่ 4 ทำอะไรต่อไป (What Stage) หรือเรียกได้ว่าขั้นตอนของความคิดใหม่ๆ เมื่อจิตของคุณสงบพอแล้วก็พร้อมที่จะก้าวสู่การกระทำใหม่ๆ ที่แตกต่างจากสิ่งที่เคยเป็นมา คุณต้องถามตัวเองว่า ตัวเองจะเป็นอย่างไรต่อไป จะทำอะไรต่อจากนี้ หรืออยากให้อะไรเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อตอบตัวเองได้แล้วก็จะทราบว่าตัวเองต้องการอะไร เหมือนการหาจิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้ายเพื่อประกอบภาพให้สมบูรณ์
การฝึกทั้ง 4 ขั้นตอนนี้อาจใช้เวลา 40-80 นาที หรือมากกว่า 1 วัน แล้วแต่บุคคล เป็นการฝึกที่ยิ่งทำบ่อยก็ยิ่งใช้เวลาน้อยลง ซึ่งช่วยในการระงับอารมณ์และจัดการตัวเองกับสถานการณ์ที่เลวร้ายไม่ว่าจะเศร้า โกรธ หรือสิ้นหวัง อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะหลักธรรมหรือหลักของนักจิตวิทยาจะไม่มีประสิทธิภาพเลยหากขาดคำว่า “สติ” ตั้งแต่เริ่ม

ที่มา : เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต


แบ่งปันประสบการณ์การใช้ เรโตนา

แม่สมเพียร ภูมิบ้านค้อ จ ขอนแก่น แบ่งปันประสบการณ์การใช้ เรโตนา มัลติฟอร์มูล่า #2880 เอนไซม์ธรรมชาติ ให้กับทุกคนที่รักสุขภาพ




สนใจสั่งซื้อ ได้ที่ http://goo.gl/lMg1dM  

รายละเอียดเพิ่มเติม
-http://health.cbpmall.com/
--https://www.facebook.com/cbphealth

เรโตนา “เอนไซม์ในร่างกายมีมากกว่า 3,000 ชนิดแต่ละชนิดจะทำหน้าที่ได้เฉพาะเปรียญเสมือนแม่กุญแจกับลูกกุญแจ”



*เอนไซม์ ช่วยไต ปอด ตับ ผิวหนัง ลำใส้ ในการขับถ่ายของเสีย
*เอนไซม์ช่วยให้ธาตุเหล็ก ประกอบลงไปในเม็ดเลือดแดง ช่วยทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดหยุดไหล เมื่อเกิดบาดแผล
*เอนไซม์จะเกี่ยวข้องกันเกือบทุกระบบในร่างกาย เช่น ระบบการหายใจ การนอนหลับ การรับประทานอาหาร การทำงาน และกระบวนการคิดของร่างกายดีขึ้น
*ตับอ่อน เป็นอวัยวะที่ผลิตเอนไซม์ ทำหน้าที่ย่อยอาหารมากที่สุด ตับอ่อนได้รับวัตถุดิบที่จะนำมาผลิตเอนไซม์จากกระแสเลือดหรือจากเซลล์ของร่างกาย ตับอ่อนผลิตเอนไซม์ที่สำคัญในกระบวนการย่อยได้แก่
-เอนไซมื อะไมเลส ทำหน้าที่ย่อยแป้งและน้ำตาล
-เอนไซม์ โปรตีเอส ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโน
-เอนไซม์ ไลเปล ทำหน้าที่ย่อยไขมันให้เป็นกรดไขมัน ซึ่งผลการเปลี่ยนแปลงสารอาหารนี้ทำให้ร่างกายดูดซึมเอาน้ำตาล กรดอะมิโน และกรดไขมัน เพื่อร่างกายนำไปใช้ได้ แม้ว่าตับอ่อนจะผลิตเอนไซม์ได้ในปริมาณที่มาก แต่เราควรคำนึงถึงเอนไซม์ที่อยู่ในอาการเพื่อช่วยในกระบวนการย่อยอาหารร่วมกับเอนไซม์ในร่างกายด้วย


สนใจสั่งซื้อ ได้ที่ http://goo.gl/lMg1dM

รายละเอียดเพิ่มเติม
-http://health.cbpmall.com/
-https://www.facebook.com/cbphealth


หน้าที่การทำงานของหัวฝักบัว วอเตอร์ส เทอราพี ชาวเวอร์


*ผลของอิออนประจุลบ
นวัตกรรมใหม่ของแผ่นไทเทเนียมที่นำมาทำเป็นรูน้ำออกของฝักบัว ให้อิออนประจุลบมากกว่าอากาศที่อยู่
ในป่าทำให้คุณรู้สึกเหมือนเดินอยู่ท่ามกลางป่าไม้ในบ้านคุณ
*กำจัดสิ่งสกปรกเล็กๆและความไม่บริสุทธิ์ที่เจือปน
แผ่นใยกรองพิเศษจะปกป้องผิวพรรณของคุณด้วยการกรองสิ่งสกปรก เล็กๆ เช่นเศษหิน ปูน หรือสนิม
ทำให้คุณได้อาบน้ำบริสุทธ์
เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่มีอยู่ในหัวฝักบัวสามารถพ่นน้ำได้แรงแต่นุ่นทำให้คุณสัมผัสได้ถึงการนวดด้วยน้ำที่นุ่มสบาย
เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่มีอยู่ในหัวฝักบัวสามารถพ่นน้ำได้แรงแต่นุ่มทำให้คุณสัมผัสได้ถึงการนวดด้วยน้ำที่นุ่มสบาย
*ประหยัดน้ำและเพิ่มคุณสมบัติแรงดันน้ำ
ออกแบบพิเศษเพื่อการประหยัดน้ำ สามารถประหยัดน้ำได้ถึง 50% เมื่อเทียบกับหัวฝักบัวทั่วไป
และสามารถเพิ่มแรงดันน้ำให้พลังน้ไที่พ่นมาแรงแต่นุ่ม

ดื่มน้ำแร่ Water เพื่อสุขภาพ

ดื่มน้ำแร่ Water เพื่อสุขภาพ
ความสำคัญของน้ำที่มีต่อร่างกายมนุษย์
1.ปรับระดับอุณหภูมิของร่างกาย
2.ช่วยปรับความเป็นด่างในร่างกาย
3.ช่วยระบบการย่อยอาหาร
4.นำพาสารอาหารต่างๆไปสู่เซลล์
5.ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย
6.ช่วยหล่ออลื่นตามข้อต่อต่างๆ
7หล่อเลี้ยงการเคลื่อนไหวของลูกตา
8.ช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื่นตลอดเวลา
น้ำดำรงอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัยมนุษย์ แต่มนุษย์อยู่ได้ต้องอาศัยน้ำ


บทความสุขภาพ เรียนรู้รับมือ `โรคลมชัก` อย่างถูกวิธี


          อาจารย์นายแพทย์ชูศักดิ์ ลิโมทัย หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคลมชักครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวในการเสวนาหัวข้อ "โรคลมชักคืออะไร และทำอย่างไรหากคนใกล้ตัวเป็นโรคลมชัก" ในงาน "Purple Day 2015 วันโรคลมชักโลก" ซึ่งจัดโดยศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคลมชักครบวงจร แห่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และมูลนิธิเทียนส่องใจเพื่อคนไข้โรคลมชัก ร่วมกับฝ่ายสวัสดิการสังคม ฝ่ายการพยาบาล
          "โรคลมชักสามารถเกิดกับคนในทุกเพศและทุกวัย โดยอาการชักนั้นเกิดจากการปลดปล่อยคลื่นไฟฟ้าสมองที่สร้างจากเซลล์สมองที่ผิดปกติออกมามากพร้อมๆ กัน ทำให้เกิดการทำงานของสมองที่ผิดปกติ ซึ่งจะเกิดขึ้นชั่วคราว เซลล์สมองที่ผิดปกติที่สร้างคลื่นไฟฟ้าสมองที่ผิดปกตินั้นสามารถเกิดขึ้นที่ผิวสมองส่วนใดก็ได้ ซึ่งจะส่งผลให้อาการแสดงของอาการชักมีความหลากหลาย ขึ้นกับบริเวณของสมองที่เป็นจุดกำเนิดชัก อาการชักจะเกิดขึ้นเพียงชั่วครู่ประมาณ 1-2 นาที ส่วนใหญ่ไม่เกิน 5 นาที จากนั้นอาการจะหายไป”
เรียนรู้รับมือ \'โรคลมชัก\' อย่างถูกวิธี  thaihealth


          อาจารย์นายแพทย์ชูศักดิ์ กลัวว่า ดังที่กล่าวข้างต้น อาการชักในผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถควบคุมได้ด้วยการรับประทานยาระงับอาการชักที่เหมาะสม อย่างไรก็ดี ถึงแม้อาการชักจะเกิดขึ้นเพียงชั่วครู่แล้วหายไป หรือแม้กระทั่งในคนที่อาการชักถูกควบคุมได้แล้วด้วยยา ผู้ป่วยโรคลมชักส่วนหนึ่งกลับยังต้องเผชิญกับปัญหาด้านทัศนคติ หรือการยอมรับจากสังคม หรือมีปัญหาในการดำรงชีวิต เนื่องจากคนทั่วไปไม่เข้าใจว่าโรคลมชักคืออะไร คนส่วนหนึ่งเข้าใจว่า โรคลมชักคือโรคทางจิตเวช แต่ในความเป็นจริงดังที่กล่าวข้างต้น โรคลมชักเป็นโรคทางสมองซึ่งก็เหมือนกับโรคทางสมองอื่นๆ แต่มีข้อแตกต่างที่อาการของโรคลมชักนั้นจะเกิดขึ้นชั่วครู่แล้วหายไป อาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวขณะที่มีอาการ
          ในช่วงที่ไม่มีอาการชัก ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้เป็นปกติไม่แตกต่างจากคนปกติทั่วไป ในผู้ป่วยโรคลมชักที่มีอาการชักตั้งแต่เด็ก พบว่าบางรายไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนทั่วไปได้ เนื่องจากคุณครูและเพื่อนๆ มีอาการกลัวไม่กล้าใกล้ชิดด้วย เนื่องจากยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ รวมทั้งยังไม่รู้วิธีที่จะให้การช่วยเหลือหากผู้ป่วยมีอาการชักขึ้นที่โรงเรียน ทำให้ผู้ป่วยเด็กส่วนหนึ่งไม่ได้รับการศึกษาต้องอยู่แต่ในบ้าน ผู้ป่วยในวัยทำงานบางรายไม่สามารถหางานทำได้ เนื่องจากความไม่เข้าใจของนายจ้าง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ป่วยขาดความมั่นใจในการเข้าสังคม เกิดความรู้สึกแตกต่าง และอาจท้อแท้สิ้นหวัง
          นายแพทย์ชูศักดิ์กล่าวเพิ่มเติมว่า "โรคลมชักมีอาการชักหลายรูปแบบ ได้แก่ 1.การชักแบบรู้ตัว มีอาการชักเกร็ง/กระตุกของแขนขาหรือหน้า ด้านใดด้านหนึ่ง, อาการชาหรือความรู้สึกผิดปกติของแขน/ขาด้านใดด้านหนึ่ง, เห็นแสงระยิบระยับ เป็นต้น 2.การชักแบบไม่รู้ตัว มีอาการชักเหม่อร่วมกับการทำอะไรโดยไม่รู้ตัว เช่น เคี้ยวปาก มือคลำสิ่งของหรือเสื้อผ้าตนเองหรือคนรอบข้าง ชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว เป็นต้น ในบางคนมีอาการเตือนให้รู้ก่อนล่วงหน้า อาการเตือนเหล่านี้ เช่น อาการใจหวิว, แน่นท้องเหมือนมีลมตีขึ้นที่ลิ้นปี่, ความรู้สึกคุ้นเคยต่อเหตุการณ์ หรือสถานที่ เป็นต้น โดยสามารถสังเกตอาการชักของผู้ป่วยได้ คือ อาการชักส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในรูปแบบเดียวกันทุกครั้ง แต่ละครั้งนานประมาณ 1-2 นาที หลังชักผู้ป่วยอาจมีอาการสับสนได้
         การปฐมพยาบาลในผู้ป่วยโรคลมชัก นั้นสามารถแบ่งได้ใน 2 กรณี คือ การปฐมพยาบาลขณะมีอาการชักแบบเกร็งกระตุกไม่รู้ตัว ให้ปฏิบัติดังนี้ 1.เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงายและตะแคงหน้า 2.คลาย เสื้อผ้าให้หลวมเพื่อให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวก 3.ห้ามใช้ไม้กดลิ้นหรือวัตถุใดๆ สอดเข้าไปในปาก เพราะอาจเกิดอันตรายทั้งต่อตัวผู้ป่วยเองและผู้ที่ให้การช่วยเหลือ
การปฐมพยาบาลขณะผู้ป่วยมีอาการชักเหม่อไม่รู้ตัว ให้ปฏิบัติดังนี้ 1.เฝ้าระวังให้ผู้ป่วยอยู่ในที่ที่ปลอดภัย เช่น ไม่ให้เดินไปที่หน้าต่างหรือบันได และระวังไม่ให้ผู้ป่วยล้ม จากนั้นรอจนกระทั่งอาการชักหายไป ผู้ป่วยจะรู้ตัวเอง 2.หลีกเลี่ยงการเข้าจับ  รัดหรือฉุดยื้อผู้ป่วยมากเกินไป เพราะในขณะชักผู้ป่วยไม่รู้ตัวอาจเกิดการต่อสู้ และทำให้เกิดอันตรายได้ สำหรับแนวทางการรักษาโรคลมชักนั้นมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิดของกลุ่มอาการชักของผู้ป่วย เบื้องต้นของการรักษาคือการใช้ยาระงับอาการชัก ซึ่งพบว่าผู้ป่วยประมาณ 60-70% สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการใช้ยาระงับอาการชัก และเพื่อให้สามารถควบคุมอาการชักให้หายขาดอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยจำเป็นต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้เกิดอาการชักได้ง่าย เช่น การอดนอน ความเครียด เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อยาระงับอาการชักมาตรฐานตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ควรได้รับการประเมินหาจุดกำเนิดชัก พบว่าผู้ป่วยส่วนหนึ่งในกลุ่มนี้ที่หาจุดกำเนิดชักได้ และบริเวณที่เป็นจุดกำเนิดชักไม่อยู่บนสมองส่วนที่มีหน้าที่สำคัญ สามารถได้รับการผ่าตัดเพื่อนำจุดกำเนิดชักออกได้ ซึ่งผลการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดนั้นพบว่าให้ผลดี โดยที่ในระยะยาวหลังผ่าตัดผู้ป่วยส่วนหนึ่งสามารถลดและหยุดยาระงับอาการชักได้ในที่สุด ส่วนผู้ป่วยที่พิจารณาแล้วและพบว่าไม่สามารถผ่าตัดนำจุดกำเนิดชักออกได้ ยังมีการรักษาด้วยวิธีอื่นอีก เช่น การกระตุ้นเส้นประสาทสมองคู่ที่สิบ (Vagus nerve stimulation) การรักษาด้วยการควบคุมอาหารแบบ Ketogenic diet เป็นต้น"
เรียนรู้รับมือ `โรคลมชัก` อย่างถูกวิธี  thaihealth
          ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ทายาท ดีสุดจิต หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบประสาทวิทยาเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ร่วมให้ความรู้ในหัวข้อ "ปัญหาทางจิตสังคมของผู้ป่วยลมชักวัยเด็ก" ว่า "การเปลี่ยนแปลงพัฒนาการด้านจิตสังคมเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการปรับตัวต่อความเจ็บป่วย โดยความสัมพันธ์ระหว่างความเจ็บป่วยด้วยโรคลมชักกับพัฒนาการด้านต่างๆ ของวัยรุ่นมีหลายประการ อาทิ พัฒนาการทางด้านจิตสังคม น้องๆ ในวัยเริ่มต้นหนุ่มสาวต้องการความอิสระ ต้องการเป็นตัวของตัวเอง อยากทำอะไรด้วยตนเอง เช่น อยากข้ามถนนเอง อยากไปโรงเรียนเอง อยากหุงข้าวกินเอง อยากทำอะไรด้วยตนเองไม่อยากให้ใครทำอะไรให้ การยอมรับ เด็กวัยรุ่นที่ป่วยเป็นโรคลมชักจะปรับตัวเข้ากับเพื่อนได้ลำบาก การยอมรับและการช่วยเหลือจากกลุ่มเพื่อนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยในการปรับตัวของเด็กวัยรุ่นได้ดีขึ้น การศึกษาของผู้ป่วยโรคลมชัก ปัญหาการเรียนที่โรงเรียนของผู้ป่วยโรคลมชักโดดเด่นมากในเมืองไทย
          เมื่อเด็กมีอาการลมชัก ทางครูผู้สอนจะให้กลับบ้านเพื่อพักรักษาตัวให้หาย หรืออาการดีขึ้น แล้วจึงกลับมาเรียนใหม่ ทางโรงเรียนควรมีความเข้าใจในตัวผู้ป่วยและยอมรับ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเรียนได้ในชั้นเรียนปกติ พัฒนาการด้านการออกกำลังกาย เด็กที่ป่วยเป็นโรคลมชักสามารถออกกำลังกายได้ตามปกติ และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี จิตใจสดชื่น และได้ผ่อนคลาย แต่บางรายที่รับการรักษาโดยการรับประทานยากันชัก อาจส่งผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการง่วงซึม เดินเซ เห็นภาพซ้อน ทำให้ต้องงดกิจกรรมบางอย่างที่เสี่ยงจะทำให้ได้รับบาดเจ็บ รวมถึงการออกกำลังกาย เช่น กีฬาประเภทฟุตบอล กิจกรรมหรือกีฬาที่สามารถเล่นได้ เช่น ว่ายน้ำ การขี่จักรยาน แต่ต้องอยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญ"
          "หากคนในสังคมได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคลมชัก ก็จะสามารถลดปัญหาและแรงเสียดทานในการดำรงชีวิตทางสังคมของผู้ป่วย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและวัยรุ่นจะได้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวและถูกมองว่าเป็นโรคประหลาด ทั้งนี้อาการของโรคลมชักสามารถรักษาได้ การดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยจากคนใกล้ชิดเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากในการรักษา โดยหมั่นสังเกตและแจ้งอาการที่เกิดขึ้นกับแพทย์เพื่อปรับการรักษาให้เหมาะสมกับอาการที่เกิดขึ้น เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วยและผู้ดูแล" ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ทายาทกล่าวในที่สุด"

          ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
          ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต